วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor (Theory X and Theory Y)



             ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ซึ่ง McGregor (อ้างถึงใน สมยศ นาวีการ, 2539, หนา 131) ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการจูงใจที่รวมการจูงใจภายนอกและภายในไว้ด้วยกัน และได้จำแนกทฤษฎีในการควบคุม การปฏิบัติงาน และเป็นการจูงใจของผู้ปฏิบัติงานไว้ 2 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎี X กล่าวว่า
             1.1 ผู้ปฏิบัติงานส่วนมากเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยง การทำงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
             1.2 วิธีการควบคุมผู้ปฏิบัติงานต้องใช้วิธีรุนแรง การใช้อำนาจบังคับ หรือ การขู่บังคับ การควบคุมการเข้มงวดเพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์
             1.3 ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีความกระตือรือร้นน้อย แต่ต้องการความมั่นคงมากที่สุด
             
ลักษณะของบุคคลตามทฤษฎี X ชี้ให้เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่ชอบทำงาน พยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์สนใจประโยชน์ส่วนตัวไปด้วย ดังนั้นผู้บริหารจะต้องพยายามกำหนดมาตรฐานในการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างใกล้ชิดมีการสั่งการโดยตรง การจูงใจจะเน้นค่าตอบแทนด้านรางวัลและผลประโยชน์อื่นๆ การใช้ระเบียบ หน้าที่ และคุกคามด้านการลงโทษที่ผู้บริหารจะเห็นว่าจุดสำคัญของการจูงใจคือ การตอบสนองความต้องการของคนด้วยความต้องการขั้นพื้นฐาน เท่านั้น

2. ทฤษฎี Y กล่าวว่า             
              2.1 ผู้ปฏิบัติงานชอบที่จะทุ่มเทกำลังกายใจให้กับงาน และถือว่าการทำงาน เป็นการเล่นสนุกหรือการพักผ่อน ทังนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะงานและลักษณะของการควบคุมงาน
             2.2 ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนี้ไม่ชอบการขู่บังคับ ทุกคนปรารถนาที่จะเป็นตัวของตัวเอง ชอบคำพูดที่เป็นมิตร และทำงานตามวัตถุประสงค์ที่เขามีส่วนผูกพัน
             2.3 มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีความกระตือรือร้น และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งยังแสวงหาความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นด้วย
             
ลักษณะของบุคคลตามทฤษฎี Y เป็นแนวความคิดที่คำนึงถึงจิตวิทยาของบุคคล อย่างลึกซึ้ง และเป็นการมองพฤติกรรมของบุคคลในองค์การจากสภาพความเป็นจริง โดยเชื่อว่าการมีสภาพแวดล้อม และการใช้แนวทางที่เหมาะสม จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตนเอง และเป้าหมายขององค์การ
          สรุปว่า Donglas McGregor เห็นว่าคนมี 2 ประเภท และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน เช่นถ้าลูกน้องเป็นคนลักษณะ X มากกว่าลักษณะ Y ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด (Closed Control) แต่ถ้าลูกน้องเป็นคนลักษณะ Y มากกว่าลักษณะ X ต้องให้อิสระควบคุมตนเองและมีส่วนร่วมในการทำงาน (Participation)

เอกสารอ้างอิง
-  สมยศ นาวีการ. (2539). ทฤษฎีองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด (มหาชน).
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1895.0      
จัดทำโดย     นางชัชพร  แนวทอง  เลขที่ 6     นางณัฐกานต์  พันธ์เนตร  เลขที่ 10 
                      นางผกาวดี  สุวงศ์      เลขที่ 28      และนางลมัย  สวัสดี       เลขที่ 49 

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสร้างรูปใน PhotoShop สำหรับ Title blog

วิธีทำรูปใน PhotoShop สำหรับ Title blog


 เอ่ยถึงโปรแกรม PhotoShop หลายคนคงเบือนหน้าหนี เพราะความยากซับซ้อนของโปรแกรมแน่ ๆ แต่สำหรับวิธีที่ได้จัดทำคำอธิบายไว้นี้ รับรองว่าง่าย สำหรับคนที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PhotoShop ก็สามารถทำตามได้แน่นอน หลายท่านเคยบอกให้สอนทำแบบง่าย ๆ จึงพยายามหาคำอธิบายง่าย ๆ มานานมาก จนได้เป็นตัวอย่างการทำรูปใน PhotoShop สำหรับนำมาใช้เป็น Title blog ส่วนตัว ดังตัวอย่างด้านล่าง สำหรับคำอธิบายและวิธีการจัดทำ เป็น Acrobat หรือ pdf file ค่ะ เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้

ตัวอย่างที่จัดทำ


คำอธิบายและวิธีการจัดทำ
(มีทั้งหมด 11 หน้า เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่จึงแบ่งเป็น 3 ไฟล์)
หน้าที่ 1 - 4           http://www.blogger.com/file/rattanuqa/Title-blog-test-CS-1.pdf
หน้าที่ 5 - 7           http://www.blogger.com/file/rattanuqa/Title-blog-test-CS-2.pdf
หน้าที่ 8 - 11           http://gotoknow.org/file/rattanuqa/Title-blog-test-CS-3.pdf

           หากท่านใดมีข้อสงสัย หรือคำอธิบายยังไม่ชัดเจน สามารถฝากข้อคิดเห็นไว้ได้ หรือฝากข้อความที่ o_po_lo@hotmail.com ได้ตลอดเวลาค่ะ ขอบคุณค่ะ
           วิธีที่นำภาพที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้วมาใช้เป็นชื่อ blog ด้านบน ท่านสามารถเข้าไปแก้ไข blog ดังที่ท่านอาจารย์จันทวรรณแนะนำ ซึ่งต้อง upload ไฟล์ภาพนี้ขึ้นก่อน และทำตามวิธีใช้ดัง Link ด้านล่าง โดยเปลี่ยนชื่อไฟล์จากตัวอย่างเป็นชื่อที่เราตั้งไว้ค่ะ
 
ขอขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ
ที่มา http://gotoknow.org/blog/nuqa-ro/54572
โดย Oh O
มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานบัณฑิตน้อยโรงเรียนอนุบาลทองอุ่น 12 มีนาคม 2554

ร่วมงานบัณฑิตน้อยกับโรงเรียนอนุบาลทองอุ่น
งานแสดงของเด็ก ๆ (อนุบาล)   น่ารักจัง

นักเรียนเตรียมอนุบาล ห้องMANGO ร่วมแสดงในงานบัณฑิตน้อย

น้องไออุ่น...และเพื่อน ๆ เต้นเพลงมาม่า  บนเวที

พี่กรณ์กับน้องไออุ่นก็มาแสดงความยินดีกับบัณฑิตน้อย

การปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3และม.6 ปีการศึกษา 2553

ภาพการปัจฉิมนิเทศนักเรียน

รองผู้อำนวยการนำนักเรียน ม.3 และม.6 ทำพิธีเซ่นไหว้ปู่ตา  ที่ศาลปู่ตาประจำโรงเรียน


น้อง ๆ นักเรียนมอบของที่ระลึกให้พี่ ม.3  และ ม.6 หน้าเสาธง


พานบายศรีสู่ชวัญ นักเรียนที่จบ ฃั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในห้องโสตฯ


รองฯรัชพงษ์ อ่อนอก  รองฯวิชิตชัย  แข่งขัน  ถ่ายภาพร่วกับครูและนางรำ หน้าอาคาร 4
ครูผกาวดี  สุวงศ์กับนักเรียนที่ปรึกษา ม.3/9  หน้าห้องโสตฯ

ผอ.วสันต์  วรรณศักดิ์เศวต  ให้โอวาทนักเรียนที่จบฃั้น ม.3 และ ม.6  ในห้องโสตฯ

การรำบายศรีสู่ขวัญ ให้นักเรียนที่จบฃั้น ม.3 และ ม.6  ในห้องโสตฯ

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM)


     การจัดการความรู้
(Knowledge Management - KM)

     นิยามการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) เป็น การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์    ใช้ความรู้ในองค์กร รวมถึงกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร        เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี                  แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ (Resource Person)
                การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ 
ความรู้อาจแบ่งได้  2  ประเภท คือ
                1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit หรือ Codified Knowledge)
คือความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การบันทึก ทฤษฎี แนวปฏิบัติ คู่มือต่างๆ
                2. ความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ซึ่งยากต่อการเล่าหรือเขียนออกมาให้ผู้อื่นทราบหรือเข้าใจ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการต่างๆ เปลี่ยนให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ การคิดเชิงวิเคราะห์
โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน การจัดการความรู้เด่นชัดจะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป ส่วนการจัดการความรู้ซ่อนเร้นนั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป ในชีวิตจริง ความรู้ ๒ ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit
โมเดลปลาทู เป็นโมเดลอย่างง่าย ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ

        1. ส่วน หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่าเราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คุณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
      2. ส่วน ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
       3. ส่วน หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป


คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้
                1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO)       จัดได้ว่าโชคดีที่สุดสำหรับวงการจัดการความรู้ ถ้าผู้บริหารสูงสุดเป็นแชมเปี้ยน (เห็นคุณค่า และดำเนินการผลักดัน KM) เรื่องที่ว่ายากทั้งหลายก็ง่ายขึ้น ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการความรู้ โดยกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ คุณเอื้อ (ระบบ)ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิบดี, รองผู้อำนวยการใหญ่ (Vice President)
                2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer-CKO) ถ้าการริเริ่มมาจากผู้บริหารสูงสุด คุณเอื้อก็สบาย แต่ถ้าการริเริ่มที่แท้จริงไม่ได้มาจากผู้บริหารสูงสุด บทบาทแรกของ คุณเอื้อก็คือ เอาหัวปลาไปขายผู้บริหารสูงสุด ให้ผู้บริหารสูงสุดกลายเป็นเจ้าของ หัวปลาให้ได้ บทบาทต่อไปของ คุณเอื้อคือ การหา คุณอำนวยและร่วมกับ คุณอำนวยจัดให้มีการกำหนด เป้าหมาย/ หัวปลาในระดับย่อยๆ ของ คุณกิจ/ ผู้ปฏิบัติงาน”, คอยเชื่อมโยง หัวปลาเข้ากับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ขององค์กร
                3. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator-KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ คุณอำนวยอยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิด และการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ”) กับผู้บริหาร       (คุณเอื้อ”), เชื่อมโยงระหว่าง คุณกิจต่างกลุ่มภายในองค์กร และเชื่อมโยง การจัดการความรู้ภายในองค์กรกับภายนอกองค์กร โดยหน้าที่ที่ คุณอำนวย
                4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner-a KP)  “คุณกิจหรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอก หรือนางเอกตัวจริงของการจัดการความรู้ เพราะคุณกิจเป็นเจ้าของ หัวปลาเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้แทบทั้งหมด และเป็นผู้ที่มีความรู้ (Explicit Knowledge & Tacit Knowledge) และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง เป้าหมาย / หัวปลา" ที่ตั้งไว้
                5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ
  ที่มา     http://www.nitesonline.net/  
                                http://km.chan.rmutto.ac.th/

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
                  เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8  รายวิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศ
                 ง 33201   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์   จังหวัดสุรินทร์
ผู้ศึกษาค้นคว้า       นางผกาวดี  สุวงศ์
หน่วยงาน                โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ปีที่รายงาน              2553

บทคัดย่อ

                 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา  ที่มีรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาได้หลากหลาย   ตอบสนองต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยังเป็นแรงจูงใจอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ     กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ   เป็นสาระที่เกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้นหาความรู้ การสืบค้นการใช้ข้อมูลสารสนเทศ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจ เห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้  การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและมีคุณธรรม    ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้    จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น  ด้วยโปรแกรม   Macromedia Dreamweaver 8  รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง 33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  จังหวัดสุรินทร์  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2552  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น  ด้วยโปรแกรม  Macromedia Dreamweaver 8  และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ในการเรียนรู้  รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง 33201  เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม  Macromedia Dreamweaver 8  โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มตัวอย่างได้แก่       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2552 จำนวน  40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด  ได้แก่ (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 8  บทเรียน  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่    0.41 -  0.80  ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.20 -  0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.82  (3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น      มัธยมศึกษาปีที่ 3  รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ  ง 33201 เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น  ด้วยโปรแกรม  Macromedia Dreamweaver 8    โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผลและ T- test (Dependent   Sample)
                    ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ปรากฏผล  ดังนี้
                    1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม  Macromedia Dreamweaver 8 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง 33201 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  จังหวัดสุรินทร์  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.59 / 87.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                    2.  นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ  33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01          
                   3. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ  ง 33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.8021 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 80.21
                   4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ   ง 33201
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ด้านกราฟิกและการใช้ภาษา ด้านการออกแบบจอภาพและการใช้สี ด้านกิจกรรมและบททดสอบ และด้านการจัดการบทเรียน มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก
                   โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วยโปรแกรม  Macromedia Dreamweaver 8 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง 33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเป็นพึงพอใจของนักเรียนจึงเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ได้
ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ส่วนหน้าของบทเรียน

การเข้าสู่บทเรียน


รายการเลือกบทเรียน